บทคัดย่อสัมจี๊ด

บทคัดย่อส้มจี๊ด
บทคัดย่อ
โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์.(2553).รายงานพืชศึกษา “ส้มจี๊ด” กรุงเทพฯ

รายงานเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปลักษณ์ภายนอก รูปลักษณ์ภายใน และคุณสมบัติของส่วนต่าง ๆ ของส้มจี๊ด ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด สำรวจและศึกษารูปลักษณ์ภายนอกของส้มจี๊ด พฤติกรรมต่างๆ ของส้มจี๊ด ในพื้นที่ปลูก
ผลการศึกษาส้มจี๊ดทั้ง 13 ต้นพบว่า ส้มจี๊ดมีรากทั้งหมดโดยเฉลี่ย 22.15 รากต่อต้น มีรากแก้วซึ่ง มีความยาวโดยเฉลี่ย 24.15 เซนติเมตร และ ความยาวของรากแขนงโดยเฉลี่ย 23.38 เซนติเมตร ลำต้นมีมีเส้นรอบวงในระดับผิวดินโดยเฉลี่ย 10.85 เซนติเมตร ความสูงโดยเฉลี่ย 123 เซนติเมตร ส้มจี๊ดเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ มีเส้นกลางใบนูนเด่นชัดการเรียงตัวของเส้นใบ เรียงตัวแบบร่างแหชนิดขนนกคือเส้นใบแตกออกจากกลางใบทั้งสองข้าง ใบที่งอกออกจากต้นชุดแรกมี 2 ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปร่างแผ่นใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร สีด้านหน้าใบและหลังใบเป็นสีเขียว มีต่อมน้ำมัน มีกลิ่นหอม ดอกของส้มจี๊ดเป็นดอกเดี่ยวแต่มักออกรวมกันเป็นกลุ่มมีสีขาวและกลิ่นหอมแรงออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบและปลายกิ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวผู้มี 20-24 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน กลีบเลี้ยงรูปถ้วยปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ ร่วงง่าย ดอกตูมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.4 เซนติเมตรเมื่อบานจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.5 เซนติเมตร ผลของส้มจี๊ดเป็นผลแบบส้มมีกลีบผลจำนวน 6-8 กลีบ เชื่อมติดกันล้อมรอบแกนกลางของผลและพัฒนาจนเป็นผลที่สมบูรณ์ ส่วนของผนังรังไข่จะพัฒนาเปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งของผล คือส่วนเปลือกชั้นนอกสุดจะมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลืองอมส้มส่วนในสุดจะมีหน้าที่เก็บสะสมน้ำ น้ำตาล และสารอาหารต่าง ๆ และมีรสเปรี้ยวมาก ส้มจี๊ดมีเมล็ดในแต่ละผล ประมาณ 1-3 เมล็ด รูปร่างเมล็ดคล้ายหยดน้ำ ด้านแหลมเป็นด้านที่รากงอกออกมาและด้านตรงข้ามมีลักษณะป้านพร้อมเก็บขยายพันธุ์ได้ในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี การขยายพันธุ์ของส้มจี๊ดโรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ได้ทำการขยายพันธุ์ทั้งหมด 3 วิธี คือ การตอน การปักชำและการเพาะเมล็ด โดยการเพาะเมล็ดมีข้อดีคือมีระบบรากแก้วที่แข็งแรง แต่มีข้อเสียคือมีการกลายพันธุ์และใช้ระยะเวลานานในการออกผล